Un-Forming
Un-Forming
by Gallery VER
19/10 — 23/11/2024
Arin Rungjang
Be Takerng Pattanopas
Chitti Kasemkitvatana
Disorn Duangsao
Ros Kamolros
Ruangsak Anuwatwimon
Som Supaparinya
Thasnai Sethaseree
Thavika Savangwongsakul
Viriya Chotpanyavisut
Wantanee Siripattananuntakul
Yujin Lee
_____
Our shared planet is increasingly being confronted by unpredictable, abrupt, and continuous changes to natural environments. Gallery VER would like to invite gallerygoers to explore the potential of human beings to not only adapt themselves to, but also rehabilitate from, such severe conditions. This artistic survey of the works of eleven artists under the title “Un-Forming” attempts to (re)connect people with their organic surroundings, as well as with the diversity and changeability of others. For this project, ‘water’ has been chosen as the major theme due to its highly flexible, fluid, flowing, and shape-shifting characteristics.
“Un-Forming” extrapolates the notion of fluidity borrowed from the symbol of water to the concepts of thinking, emotion, and remembrance. Several artists featured in this exhibition utilize water as their starting point in exploring sustainability and culture, as well as the connection between individuals and other people, society, and environment. Their main task is reminding us of the important role of humans as but one category of habitants in our global community and natural world. With the impact and guidance of the artworks, viewers may ponder the position of themselves and others as contributors to the tackling of the issue of transformation of nature, no matter the background from which they originate: social activists, artists, or members of the general population. Another message conveyed in this show relates to the realization that human beings possess an impressive capacity for resilience in the face of environmental changes and catastrophes, despite extreme difficulties.
The artists represented in “Un-Forming” utilize various strategies in presenting their ‘water’-related messages. Some employ their preferred techniques and materials in an artistic way to illuminate the issues and ties between culture and natural surroundings. Others utilize contemporary and/or mixed media techniques to posit ideas about our complex social structures. Others still arrange their works in an attempt to launch their viewers into exercises of sensory experience. Regardless of material and method, the curation of all pieces exhibited in this show is based on the objective of reflecting the unique, individual perspective of each artist, as well as relating to two major discourses, those of ‘change’ and ‘self-adjustment’.
Writer: Pattara Danutra
.
ด้วยเหตุที่โลกเราใช้อาศัยอยู่ร่วมกันในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยากที่จะคาดการณ์ นิทรรศการ “Un-Forming” จึงเชิญชวนผู้ชมให้หันมาสำรวจความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัวและฟื้นตัวต่อผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก รวมถึงการเชื่อมโยงความเป็นตัวตนของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ โดยมุ่งเน้นไปที่ความหลากหลายของผู้คนท่ามกลางภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา “Un-Forming” ได้หยิบยกประเด็น “น้ำ” เป็นแนวคิดหลักในการนำเสนอ ด้วยคุณลักษณะของน้ำที่เป็นธาตุที่มีความยืดหยุ่นสูง ไหลลื่นไปสัมผัสกับสิ่งต่างๆ โดยง่าย และยังเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ฉับไว
“Un-Forming” ยังขยายภาวะความเป็น “สิ่งเลื่อนไหล” ของน้ำ ไปสู่การไหลของความคิด อารมณ์ และความทรงจำของคน ศิลปินหลายคนยังได้ใช้ ‘น้ำ’ เป็นมุมมองหลักในการศึกษาความยั่งยืน วัฒนธรรม และการเชื่อมโยงระหว่างคนกับคนด้วยกัน กับสังคม และกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าประสงค์เพื่อเชิญชวนให้ผู้ชมตระหนักถึงบทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยในชุมชนและโลกธรรมชาติ ซึ่งเมื่อสัมผัสนิทรรศการนี้แล้ว ผู้ชมจะได้รับพลังส่งกลับมาให้นึกถึงเรื่องราวของตน ตลอดจนผู้คนรอบข้างที่ต่างมีส่วนในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ไม่ว่าจะในบทบาทของนักเคลื่อนไหวทางสังคมสิ่งแวดล้อม ศิลปิน และบุคคลทั่วไป รวมถึงร่วมรับรู้ถึงศักยภาพของมวลมนุษย์ที่มีความสามารถในการฟื้นตัวจากภัยพิบัติต่างๆ ท่ามกลางความยากลำบาก
ในด้านการผลิตผลงาน ศิลปินที่มีส่วนร่วมในนิทรรศการ “Un-Forming” ได้ใช้แนวทางที่หลากหลายในการถ่ายทอด “สาร” ของตน บ้างได้ใช้เทคนิคและวัสดุที่ถูกรวบรวมมาเพื่อกระตุ้นและชี้ให้เห็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ และการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมกับผืนน้ำ ในขณะที่ศิลปินบางส่วนใช้เทคนิคสมัยใหม่และสื่อผสม เพื่อมุ่งเน้นหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทับซ้อนในสังคม รวมไปถึงการจัดวางที่ดึงดูดให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมผ่านประสบการณ์ทางผัสสะ ซึ่งการคัดสรรผลงานแต่ละชิ้นในนิทรรศการนี้อยู่บนฐานของการนำเสนอมุมมองเฉพาะตนของแต่ละศิลปิน ที่เกี่ยวกับสองแกนเนื้อหาหลัก อันว่าด้วยเรื่อง การ “เปลี่ยนแปลง” และการ “ปรับตัว” เป็นสำคัญ
ผู้เขียน: ภัทร ด่านอุตรา